กรดไหลย้อน ปัญหาร้อนอกของคนวัยทำงาน

กรดไหลย้อน ปัญหาร้อนอกของคนวัยทำงาน

สุขภาพ

โรคกรดไหลย้อน คือ โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. โรคกรดไหลย้อนธรรมดา หมายถึง กรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร ไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น

2. โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึง โรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียง ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียง จากการระคายเคืองของกรด

อุบัติการณ์ของโรคกรดไหลย้อนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกค่อนข้างสูง  เฉลี่ยประมาณร้อยละ 50-60 ส่วนในประเทศไทย พบว่าคนไทยวัยทำงานประสบปัญหาโรคกรดไหลย้อนกันมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

1. คนไทยรับอิทธิพลของตะวันตกมากขึ้น การดำเนินชีวิตของแต่ละคนเปลี่ยนไป เหมือนกับคนตะวันตกมากขึ้น เช่น

– ทำงานเลิกดึก ทำให้รับประทานดึก พอรับประทานแล้วก็เข้านอนทันที ทำให้ความดันในช่องท้อเพิ่มมากขึ้น เกิดการไหลย้อนของกรดได้ง่ายขึ้น

– เครียดกับงานมากขึ้น เมื่อเครียด กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหลอดอาหารทำงานได้น้อยลง และหลั่งกรดมากขึ้น มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากขึ้น

– ชนิดของอาหาร ปัจจุบันคนทั่วไป นิยมรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด พิซซ่า หรืออาหารที่ปรุงด้วยการผัด และทอดกันมากขึ้น รวมทั้งนิยมดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลมกันมากขึ้น อ้วน ไม่ออกกำลังกาย

ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งเสริมให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากขึ้น

2. มีเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งคือ Helicobacter pylori (H. pylori) ปัจจุบันเชื้อชนิดนี้มีบทบาทเกี่ยวกับแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น   เชื้อนี้มีข้อดีคือ ช่วยปกป้องภาวะกรดไหลย้อน แต่ในปัจจุบัน มีการสั่งยาที่ทำลายเชื้อชนิดนี้กันมากขึ้น ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในกระเพาะอาหาร   เมื่อเชื้อชนิดนี้ถูกทำลายไป ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกรดไหลย้อนมากขึ้นด้วย

อัพเดทสุขภาพ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  แนะวิธีดูแลผิวในช่วงฤดูหนาว

แนะวิธีดูแลผิวในช่วงฤดูหนาว

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำวิธีการดูแลผิวพรรณที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโรคผิวหนังตามมาได้

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยในขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ความชื้นในอากาศน้อยลงและอากาศแห้งเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาผิวหนังต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ 1. ผื่นผิวหนังอักเสบจากผิวแห้ง ลักษณะผื่นจะเป็นขุยแห้ง มักเจอในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุมากสภาพผิวหนังจะเสื่อมสภาพลง การสร้างน้ำมันในชั้นผิวลดลง ทำให้มีอาการผิวแห้งมากกว่าคนวัยอื่น 2. ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง ลักษณะผื่นแดงแห้งลอก เกิดจากการใช้สารเคมีที่มีความระคายเคือง เช่น สบู่ โฟมล้างหน้า ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ เกิดผื่นแดง ผื่นลอก บริเวณที่สัมผัสสารเคมี 3. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก โดยมักจะมีผื่นเห่อกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง มีผื่นแห้งลอกตามข้อพับ คันมาก บางครั้งอาจมีน้ำเหลืองไหลได้

ข่าวสุขภาพ

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงฤดูหนาวการดื่มน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้นได้ แต่ควรมีการทาครีมบำรุงให้ความชุ่มชื้นควบคู่กันด้วย นอกจากนี้แล้วไม่แนะนำให้อาบน้ำฟอกสบู่เยอะจนเกินไป ควรใช้สำหรับสบู่ที่ถนอมผิวหนังมากกว่า ส่วนมากสบู่เหลวจะมีสูตรอ่อนโยนเยอะกว่าสบู่ก้อน โดยได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลผิวให้ชุ่มชื้น คือ

1. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพราะการอาบน้ำอุ่นนั้น อาจทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้นได้

2. ใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวหนัง

3. ทาครีมบำรุงให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอโดยเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง

4. ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง หากมีปัญหาทางผิวหนังไม่แนะนำให้ซื้อยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย