6 วิธีสร้างอารมณ์ขันเพิ่มพลังEQ

มีผลวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์ขันในเด็กพบว่า เด็กที่ชอบหัวเราะ ยิ้มแย้ม อารมณ์ดีจะมีแนวโน้มโตขึ้นเป็นคนที่มีระดับ IQ สูง

รู้จักแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีความสุข เนื่องจากเซลล์ประสาทสมองของเด็กจะแตกแขนงเชื่อมโยงกัน เก็บบันทึกช่วงเวลาแห่งความสุขเหล่านั้นเป็นความทรงจำลงในจิตใต้สำนึกไว้ตลอดชีวิตนั่นเอง

สำหรับเด็กเล็ก 1-3 ปีปกติเป็นวัยที่หัวเราะง่ายอยู่แล้ว เพียงแค่พ่อแม่ให้ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิด กิจวัตรทั่วไปก็สามารถสร้างอารมณ์ขันให้ลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

เด็กปฐมวัย

  1. ทำหน้าตาแปลกๆ เช่น ทำแก้มป่อง ปากจู๋ ยักคิ้ว จมูกบี้ ฯลฯ เล่นกับลูก หรือให้ลองทำตามแล้วส่องกระจกดูหน้าตัวเอง
  2. แปลงเนื้อเพลงใหม่ นำเพลงที่ลูกชอบมาเปลี่ยนเนื้อเพลงให้ตลกขบขัน อาจใส่ชื่อลูกเข้าไปในเนื้อเพลงด้วย เด็กจะชอบมาก
  3. ทำท่าทางเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่ลูกชอบ สามารถใช้การพูดล้อเลียนบทสนทนาที่ตัวละครเหล่านั้นชอบพูดด้วยก็ได้
  4. เป่าฟองสบู่ ขณะลูกอาบน้ำ ให้ใช้หลอดเป่าน้ำสบู่หรือยาสระผมเป็นฟองลอยไปตามอากาศ เด็กจะสนุกมากที่ได้จับฟองเล่นแล้วแตกโพละ!
  5. เล่นจ๊ะเอ๋ เป็นการเล่นที่เด็กวัยนี้โปรดปรานมาก แค่พ่อแม่เอามือปิดหน้าแล้วจ๊ะเอ๋ หรือโผล่หน้าจากที่กันบังมาจ๊ะเอ๋ ก็สามารถทำให้ลูกขำเอิ๊กอ๊ากไม่หยุดแล้ว
  6. เล่นปูไต่ สมมุติกับลูกว่ามือพ่อแม่เป็นตัวปูหรือแมงมุมแล้วใช้นิ้วไต่ไปตามตัวลูก หยุดแวะจั๊กจี้ตามพุง ตามฝ่ามือบ้าง รับรองว่าลูกจะหัวเราะไม่หยุดทีเดียว

ความจริงยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่สร้างอารมณ์ขัน เสียงหัวเราะให้กับลูก ซึ่งล้วนแต่ทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย นอกจากจะสร้าง EQ ที่ดีให้ลูกแล้วยังช่วยสานรักผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกได้อย่างดีมากๆ เลยค่ะ

ข่าวแนะนำ : กรมอนามัย หนุน ผู้ปกครองใช้เวลาเล่นกับบุตรหลานมากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างสมวัย

กรมอนามัย หนุน ผู้ปกครองใช้เวลาเล่นกับบุตรหลานมากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างสมวัย

วัยเด็ก เรียกได้ว่าเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในชีวิตที่จะเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา-ภาษา ด้านร่างกาย ด้านสังคม-อารมณ์ และด้านการเรียนรู้

กรมอนามัย-หนุน-ผู้ปกครอง

โดยการใช้เวลาร่วมกันของผู้ปกครองและบุตรหลาน ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กอย่างสมวัย

กรมอนามัย แนะ ผู้ปกครองเล่นกับบุตรหลาน ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เผยว่า จากงานวิจัยของกรมอนามัยและสำนักงานพัฒนาสุขภาพระหว่างประเทศไทย (IHPP) เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการเด็กปฐมวัยกับการมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเล่านิทาน การร้องเพลง การเล่นร่วมกัน และการพาเด็กไปเล่นนอกบ้าน กับพ่อแม่และผู้ดูแล พบว่า การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้ปกครอง จะส่งผลต่อการมีพัฒนาการสมวัยทั้งสี่ด้าน (ด้านสติปัญญา-ภาษา ร่างกาย สังคม-อารมณ์ และการเรียนรู้) สูงที่สุด โดยเฉพาะด้านสติปัญญา-ภาษา

อย่างไรก็ตาม เด็กไทยยังมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรรมดังกล่าวร่วมกับพ่อ แม่ และผู้ดูแลน้อย โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมร่วมกับพ่อมีน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 31 ในขณะที่ปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมร่วมกับกับคนอื่นในครอบครัว มีร้อยละ 53 และปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมร่วมกับแม่มากที่สุด ถึงร้อยละ 58 ทั้งนี้ การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้ใหญ่ในครอบครัว จะส่งผลต่อพัฒนาการสมวัยที่ดีเมื่อเทียบกับการที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมกับผู้ใหญ่

การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญ
การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพราะเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จะมีเชาวน์ปัญญาดี และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ ดังนั้น ผู้ปกครอง จึงควรให้ความสำคัญในการใช้เวลากับบุตรหลาน ผ่านการเล่นให้มากขึ้น รวมทั้งการอ่านหนังสือ และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยการใช้เวลาร่วมกันนี้ มีประโยชน์มากมาย เช่น:

ช่วยกระตุ้นสมองของเด็กให้เกิดวงจรการเรียนรู้
ช่วยเพิ่มหน่วยความจำ ส่งเสริมสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์
ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เสริมพัฒนาการเด็ก ตามแนวคิด 3F ‘Family-Free-Fun’
กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แนะนำแนวทางการเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับครอบครัว ตามแนวคิด 3F ได้แก่:

F : Family เล่นกับครอบครัว เพื่อน พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มีทักษะและสร้างแรงจูงใจในการเล่น
F : Free เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระ ตามความต้องการที่อยากจะเล่น โดยมีมุมเล่น ลานเล่น สนามเด็กเล่น ที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน ให้เด็กเล่นที่ไหนก็ได้ โดยดูแลเรื่องความปลอดภัย
F : Fun เล่นให้สุข สนุก มีกิจกรรมหรือสื่อของเล่นหลากหลาย หาง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นไปตามวัย และเน้นธรรมชาติ

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : “ฉีดวัคซีนโควิด-19” ในเด็ก ทำไมมีระยะห่างต่างกัน สำคัญมาก ผู้ปกครองควรรู้

“ฉีดวัคซีนโควิด-19” ในเด็ก ทำไมมีระยะห่างต่างกัน สำคัญมาก ผู้ปกครองควรรู้

“ฉีดวัคซีนโควิด-19” ในเด็ก ทำไมมีระยะห่างต่างกัน สำคัญมาก ผู้ปกครองควรรู้

เด็ก

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตอบคำถามประเด็น “วัคซีนโควิด-19” ถึงระยะห่างของการ “ฉีดวัคซีนโควิด-19” ในเด็กว่า ทำไมระยะห่างการฉีดวัคซีนในเด็กถึงแตกต่างกัน

อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ปกติการ “ฉีดวัคซีนโควิด-19” ที่มีการฉีดกันหลายโดส เช่น 2-3 โดส ก็จะมีระยะห่างของการฉีดวัคซีน ซึ่งในเอกสารกำกับยาหรือการขึ้นทะเบียนมีการกำหนดเอาไว้ 3-12 สัปดาห์ ในตอนแรกที่เรากำหนด 3-14 สัปดาห์ ก็มีหลายเหตุผล

สำหรับการกำหนดว่าจะฉีดห่างแค่ไหนก็มีปัจจัยอยู่ 2-3 อย่าง ประกอบด้วย ประสิทธิในการสร้างภูมิคุ้มกัน ความปลอดภัย และสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ถ้าเราฉีดห่างภูมิคุ้มกันจะขึ้นดีกว่า อย่างไรก็ตามเราก็ทราบกันอยู่แล้วว่า ในช่วงต้นปีมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ค่อนข้างมาก เราเลยต้องกำหนดระยะเวลาการฉีดวัคซีนให้ค่อนข้างใกล้กันคือ 3-4 สัปดาห์

ทว่าเมื่อเราทราบว่าการระบาดของโรคไม่ได้รุนแรงมากนัก เพราะฉะนั้นหลังจากที่มีการดูข้อมูลทั้งหมดและก็มีการปรึกษารวมทั้งคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย ก็เลยกำหนดไว้อย่างนี้ คือ

1.ถ้าการฉีดโดยที่โรงเรียนเป็นศูนย์กลางที่เรียกว่า school based เราจะกำหนดไว้ที่ 8 สัปดาห์ เนื่องจากสร้างภูมิได้ค่อนข้างดี และผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ประกอบกับสถานการณ์การระบาดที่ไม่รุนแรง พอเราฉีดในโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะฉีดเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้นต้องกำหนดเวลาฉีดค่อนข้างแน่ชัดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

2.ฉีดในเด็กป่วยหรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เราจะใช้โรงพยาบาลเป็นศูนย์ฯฉีด และมีกุมารแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยหรือเด็กคนนั้นๆ ซึ่งจะรู้ข้อมูลคนนั้นๆว่า เด็กคนนี้จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเร็วหรือช้าอย่างไร เพราะฉะนั้น เราก็จะกำหนดช่วงไว้ที่ 3-12 สัปดาห์ เพื่อให้กุมารแพทย์ได้สามารถใช้ดุลยพินิจประวัติคนไข้ในการตัดสินใจ